แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การประชาสัมพันธ์ที่ได้ผลที่สุด


เพียงเพราะลายเซ็นของสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในที่ประชุมมรดกโลกที่บราซิล ใครต่อใครหลายคนพากันอกสั่นขวัญแขวนไปว่า มหามิตรภาคประชาชนเพียงหนึ่งเดียวของรัฐบาลนี้ จะตีจากไปแล้วหรือ

กระแส ความไม่พอใจที่ สุวิทย์ ไปลงชื่อ บวกกับความพยายามขุดคุ้ยเรื่องเอ็มโอยู ปี 2543 ที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ไปลงนามกับกัมพูชาเอาไว้กลายเป็นหอกทิ่มใส่กลาง หลังรัฐบาล

กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่แยกออกเป็น "สายเหยี่ยว" นำโดย วีระ สมความคิด ที่ไปสังเกตการประชุมถึงบลาซิล ร่วมกับ ชัยวัฒน์ สินธ์สุวงศ์ ตั้งเวทีแถวๆ กองทัพภาคที่ 1 ส่วนกลุ่มพันธมิตร สายสันติอโศก รวมตัวกันที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง

ถึงแม้จะเชื่อ มั่นว่า เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มาชุมนุมจะชื่นชมอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรัฐบาลชุดนี้ แต่ใครใจะรู้ว่า "อารมณ์" ของผู้ชุมนุมในแต่ละเวลานั้น จะเป็นอย่างไร

แต่เมื่อเห็นท่าทีการตอบรับในทุกข้อเสนอ ทุกคำชี้แจงของอภิสิทธิ์แล้ว หลายคนคงหมดห่วง

การนัดหมายในวันถัดมาจึงไม่ใช่เรื่องน่าเป็นห่วงสำหรับรัฐบาล

ถึง แม้ว่าฝ่ายพันธมิตรจะมีนักวิชาการ มีข้อมูล และค่อยๆ ไล่ประเด็นเพื่อให้ฝ่ายรัฐบาลที่ประกอบด้วย อภิสิทธิ์ สุวิทย์ ศิริโชค โสภา และ ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขาฯ รมว.ต่างประเทศ คอยตอบคำถาม

ก็ ต้องยกให้การไล่ประเด็น การเตรียมความพร้อมเรื่องข้อมูลฝ่ายภาคประชาชนนั้น เตรียมกันมาเป็นอย่างดี และมีผู้หลักผู้ใหญ่ที่แม่นทั้งข้อมูลและข้อกฎหมายคอยคุมจังหวะ นับเป็นการทำงานเพื่อชาติบ้านเมืองอย่างน่าชื่นชม

ย้ำให้เห็นว่า แนวคิดของภาคประชาชนที่ให้ความสำคัญเรื่องเอ็มโอยู ปี 2543 นั้นเพราะเกรงว่าจะเป็นต้นเหตุให้เขมรนำไปหาประโยชน์ โดยที่ไทยได้แต่อ้าปากพะงาบๆ หรือไม่ก็เออออห่อหมกไปกับลูกเล่นของฮุน เซน

แต่ ในอีกแง่มุมหนึ่งมันช่วยไม่ได้ ที่จะมีการมองไปว่า นี่มันงานที่รัฐบาลได้ทำไปแล้ว แต่วิธีการ "พรีเซ้นต์" วิธีการพูด เพื่อให้ประชาชนสนใจที่ผ่านมา สอบตกมาโดยตลอด

มันมองได้ว่า นี่คือการพูด การนำเสนอ การบอกกับประชาชน โดยมีผู้เชี่ยวชาญทั้งข้อมูล และจิตสำนึกในความเป็นชาติไทย คอยซัก คอยถาม คอยย้ำ เพื่อให้ผู้ชมหน้าจอทีวี แทบจะลืมเข้าห้องน้ำ

ขณะเดียวกัน ก็มีความพยายามชี้ให้เห็นว่า การไปยอมรับแผนที่ของ นพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ดีสุดๆ ก็คือ มันน่าจะเป็นเรื่องของความไม่รู้ และที่ไม่รู้ ก็อาจเพราะเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศเองที่ได้รับข้อมูลผิดๆ แล้วมาทำกันเป็นเรื่องเป็นราว

ส่วนความไม่รู้นั้นจะนำไปสู่ความสูญ เสียดินแดนหรือไม่ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่อ่าวไทยค่าหลายแสนล้านต้องตกไปเป็นของกัมพูชาหรือ ไม่ เป็นเรื่องที่คนดู คนฟัง นำกลับไปขบคิด ถกเถียงกันเอาเอง

ประมาณว่า จบรายการมีเรื่องให้คิดต่อ

ส่วนพื้นที่สื่อนั้นไม่ต้องพูดถึง รายการนี้ยึดพื้นที่สื่อโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ได้ทุกฉบับ

แน่ นอนว่า เมื่อใครได้อ่านเนื้อหาข้อถกเถียงกันทั้งหมด ก็อดที่จะรำพึงขึ้นมาไม่ได้ ว่า "แล้วไอ้คนที่มันไปเซ็นตอนนั้น ไม่ได้ดูประวัติศาสตร์เลยหรือว่า แผนที่ไทย-กัมพูชามันเป็นอย่างไร"

ไม่ได้ถามว่าจนใจขายชาติหรือเปล่า แต่ไม่ต้องถามว่า ในใจนั้นคิดไปไกลกว่านั้นหรือไม่

บท ต่อมาของรัฐบาลก็คือ สุวิทย์ คุณกิตติ ที่ให้สัมภาษณ์ในวันถัดมาว่า จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาว่าจะตั้งคณะที่ปรึกษาที่มาจากภาค ประชาชนและนักวิชาการ โดยไม่รังเกียจว่า จะเป็นบุคคลใด ฝ่ายใด

เท่านี้ก็รู้แล้วว่า คืออะไร

ถามว่า ฝ่าย นพดล ปัทมะ ที่ไปลงนามกับเขมรตอนเป็นรัฐมนตรี จะเสนอหน้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาให้สุวิทย์หรือ

ตรง นี้ไม่ได้หมายถึงความเห็นที่หลากหลาย หากแต่เป็นเรื่องของท่าที และแนวทางที่ชัดเจนว่า เวทีระหว่างรัฐบาลกับภาคประชาชนนั้น ได้ผลักให้ฝั่งนพดล กลายเป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้คิดเหมือนกับรัฐบาลนี้คิด

ก็ไม่ใช่เรื่องผิดแผกประการใด ที่จะคิดเพื่อบ้านเพื่อเมือง และพยายามดูทุกรายละเอียดว่า ส่วนใดที่บ้านเมืองจะเสียเปรียบ

แต่ ทั้งหมดนี้ก็คือ การกินรวบทั้งกระดานของรัฐบาล โดยที่ภาคประชาชนจะมีส่วนรับรู้กับเกมนี้หรือไม่ ไม่สำคัญ แต่เมื่อประกาศข้อข้องใจ และประกาศที่จะขับไล่รัฐบาลด้วยประเด็นนี้แล้ว เมื่อรัฐบาลลากเข้ามาเล่นในเกมของตน ภาคประชาชนก็คือ ส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ที่ได้ผลที่สุด นับแต่มีรัฐบาลนี้ขึ้นมาบริหารประเทศ

ขยายปมร้อน
ศรายุทธ สายคำมี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน