แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

“ความกลัว” ที่ไม่มีวันสิ้นสุด

“ความกลัว” ที่ไม่มีวันสิ้นสุด

ที่มา : Robert Amsterdam


ใน ขณะที่ประชาชนทั่วประเทศกำลังเฉลิมฉลองงานวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับรายงานว่ามีวัตถุระเบิดถูกวางทิ้งไว้บริเวณตลาดใน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการย้ำเตือนถึงฉากละครที่“น่ากลัวและโง่เขลา” ครั้งล่าสุดในรอบ 6เดือนที่ผ่านมา แผนการที่การลอบวางระเบิดและการก่อวินาศกรรมปริศนาเหล่านี้ได้สร้างความหวาด กลัวไปทั่วประเทศ

รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะสร้างความหวาดผวาให้กับประชาชน โดยการกล่าวโทษกลุ่มคนเสื้อแดงว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในความรุนแรงที่เกิดขึ้น ในวันที่ 30 กรกฎาคมกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ยื่นร้องขอให้อัยการสั่งฟ้องแกนนำกลุ่มน.ป.ช. ทั้ง 24คน รวมถึงอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ในข้อหา “ก่อการร้าย” และตามคาดหมาย ในวันที่ 11สิงหาคม อัยการได้สั่งฟ้องแกนนำ 19 คนที่ถูกถูกคุมขัง และเลื่อนการพิจารณาว่าจะสั่งฟ้องแกนนำอีก 6 คนหรือไม่ รัฐบาลไทยได้กล่าวหาแกนนำเสื้อแดงว่ามีส่วนเกี่ยวข้องหรือร่วมกันวางแผนกระ ทำดังต่อไปนี้ 1. การวางระเบิดกว่า 70แห่ง ในกรุงเทพและจังหวัดอื่นๆ 2. การปฏิบัติการของ “ชายเสื้อดำ” ในวันที่ 10 เมษายน ซึ่งส่งผลให้ทหารจำนวนหนึ่งเสียชีวิต 3. การลอบวางเพลิงอาคารราว 30อาคาร ในวันที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งข้อกล่าวหาเหล่านี้มีโทษสูงสุดถึงขึ้นประหารชีวิต

รัฐบาลไทยเมินเฉยต่อข้อเรียกร้องที่เราขอให้เปิดโอกาสแก่ลูกความของเรา ได้เข้าถึงพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดีเพื่อทำการตรวจสอบหลักฐานนั้นด้วย ตนเอง ซึ่งสิทธิเหล่านี้ได้ถูกรับรองไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศ หลักฐานที่รัฐบาลได้แสดงต่อสาธารณะที่ชี้ว่าแกนนำเสื้อแดงมีส่วนเกี่ยวข้อง กับการกระทำการก่อการร้ายนั้นมีจุดอ่อนอย่างมาก เช่น คำปราศรัยของนายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อที่เตือนว่าว่าอาจจะมีการตอบโต้การกระทำการรัฐประหารโดยคนเสื้อแดง หรือคำปราศรัยของ นายอริสมัน พงษ์เรืองรอง ที่กล่าวว่าอาจจะมีการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง นอกตากนี้สมาชิกคนสำคัญของรัฐบาลยังกล่าวหาว่าอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่กลุ่ม น.ป.ช. และแกนนำอีก 2-3 คนรับคำสั่งจากทักษิณให้พยายามล้มเลิก “แผนการปรองดองสมานฉันท์” แต่จนถึงวันนี้รัฐบาลยังไม่สามารถพิสูจน์ข้อกล่าวหาดังกล่าวได้

เมื่อเราพิจารณาข้อมูลโศกนาถกรรมที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ รัฐบาลได้พยามเผยแพร่แล้ว จะพบว่ารัฐบาลปฏิเสธที่จะแสดงหลักฐานที่แน่นหนาว่าแกนนำ น.ป.ช. มี่ส่วนเกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาที่เป็นข้อกล่าวหาทางการเมืองโดยล้วนอย่าง ข้อหา “ก่อการร้าย” อย่างไร แท้ที่จริงแล้วรัฐบาลต้องการใช่ข้อกล่าวหาดังกล่าวเล่นงานคนเสื่อแดงอย่าง ลับๆ โดยใช้การสอบสวนและระบบตุลาการคดงอเป็นเครื่องมือทางการเมือง

ข้อกล่าวหา “ผู้ก่อการร้าย” คือการทำลายความน่าเชื่อถือของบุคคลนั้นต่อสาธารณะไม่ว่าบุคคลนั้นทำผิดจริง หรือไม่ก็ตาม ซึ่งคล้ายกับการกล่าวหาบุคคลว่าเป็นคอมมิวนิสต์ในยุค 70 แท้จริงแล้วรัฐบาลและศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ต้องการทำให้ประชว่าาชนมองการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงว่าเป็นองค์กร “การก่อการร้าย” โดยเริ่มจากวันที่ 10เมษายน รัฐบาลและ ศอฉ. ได้สร้างเรื่องทำให้ประชาชนเห็นการสลายการชุมนุมเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้มีผู้เสีย การที่ ศอฉ.และรัฐบาลกล่าวหาคนเสื้อแดงว่าเป็นผู้ก่อการร้ายเพราะต้องการปิดกั้น ข้อมูลข่าวสารจากแหล่งอื่น คุกคามสิทธิภายใต้รัฐธรรมนูญ และกำจัดคนเสื้อแดงโดยไม่ทำให้คนกรุงเทพโกรธเคือง นอกจากนี้เรายังเป็นกังวลว่ากองทัพในบางส่วน (หรือกลุ่มคลั่งชาติที่อยู่เหนือการควบคุมของรัฐบาล) อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนการกำทำลายภาพลักษณ์ทางสาธารณะของคนเสื้อแดง หรืออาจกล่าวได้ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นคือแผนการ “ยุทธศาสตร์ความตึงเครียด” เพื่อสร้างความชอบธรรมใช้กับการอำนาจฉุกเฉินและจำกัดสิทธิเสรีภาพของฝ่ายตรง ข้ามอย่างเคร่งครัด (เราได้สามารถเห็นได้จากสัปดาห์ที่แล้วแล้วว่า พ.ร.ก. ฉุกเฉิน บังคับใช้กับคนบางกลุ่มเท่านั้น)

ข้อสันนิษฐานของเรามาจากข้อสังเกตง่ายๆดังนี้

ข้อแรก เราสงสัยหลักฐานที่รัฐบาลแสดงต่อที่สาธารณะ ไม่มีหลักฐานใดที่แสดงว่าแกนนำ น.ป.ช.เกี่ยวข้องกับการกระทำการก่อการร้าย และแม้จะมีข้อสงสัยมากมาย แต่ใครก็ตามที่โจมตีรัฐบาลจะถูกตราหน้าว่าเป็นคนเสื้อแดงทั้งหมด ทั้งนี้การลอบวางระเบิดและลอบยิงหลายเหตุการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ยังคงเป็น ปริศนา ไม่มีการจับกุมบุคคลใด และในบางกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ต้องสงสัยอย่างรวดเร็ว และปล่อยตัวในเวลาต่อมาเนื่องจากไม่มีหลักฐานที่เพียงพอ และบางกรณีที่ผู้ถูกจับกุมและถูกกล่าวหาว่ามีสายสัมพันธ์กับกลุ่ม น.ป.ช .แต่การกระบวนการการสอบสวนคดีของรัฐบาลยังเป็นที่น่าสงสัย เหตุการณ์การยิงระเบิดในวันที่ 20 มีนาคม ใกล้กับกระทรวงกลาโหม เจ้าหน้ารัฐออกมาระบุว่าผู้ต้องหารับ “สารภาพ” ว่าเป้าหมายที่แท้จริงคือวัดพระแก้ว อย่างไรก็ตามไม่มีการเปิดเผยข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับคดีมากกว่านี้ นอกจากนี้ อีกเรื่องที่น่าแปลกก็คือผู้ต้องหา 2คนที่ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในกัมพูชาเพราะมีส่วนเกี่ยวข้องการการ ลอบวางระเบิดที่หน้าพรรคภูมิใจไทย โดยคนเสื้อแดงที่หลบหนีอยู่ได้เป็นคนรายงานตำรวจ โดยเฉพาะอดีต ส.ส. พายัพ เพียงเกษ ที่น่าสงสัยมากกว่านั้นคือรัฐบาลกัมพูชาได้ส่งผู้ต้องสงสัยนี้คืนแก่รัฐบาล ไทย ( โดยรัฐบาลไทยไม่เคยรู้ว่าผู้ต้องสงสัยนี้เดินทางไปยังกัมพูชาในวันที่ 1 กรกฎาคม) แต่ไม่เคยส่งคืนคนเสื้อแดงคนอื่นที่เชื่อว่าซ่อนตัวอยู่ในชายแดนกัมพูชาให้ แก่รัฐบาลไทยเลย

รัฐบาลอภิสิทธิ์จะตีตราฝ่ายผู้ตรงข้ามอย่างรวดว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” แต่เหมือนแผนการนี้ไม่ค่อยจะได้ผล ระบบตุลาการนั้นถูกใช้เป็นเครื่องมือ เจ้าหน้าสอบสวนได้ยอมรับอย่างเปิดเผยว่าองค์กรสอบสวนของตนถูกใช้ “เป็นเครื่องมือทางการเมือง” และกระบวนการสรรหาผู้เชี่ยวชาญโดยรัฐบาลนั้นมีความลำเอียง ประเด็นก็คือรัฐบาลต้องการปกปิดความจริง และวัตถุประสงค์ของการฟ้องร้องคดีอาญานี้คือการสร้างความชอบธรรมให้แก่สื่อ ของรัฐบาลและต้องการให้มีการคุมขังแกนนำ น.ป.ช. ให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การสอบสวนเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงไม่ใช่เรื่องสำคัญ การที่ระบบกฎหมายและรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ไม้ประดับ โดยมีกลุ่มคนอื่นเป็นคนการตัดสินเรื่องทางกฎหมายนั้นเกิดขึ้นหลายครั้งในการ เมืองไทย

อย่างที่สอง น่าสังเกตช่วงเวลาของการเกิดเหตุร้าย เหตุการณ์การลอบวางระเบิดที่ไม้มีผู้บาดเจ็บ ณ ธนาคารกรุงเทพสี่สาขาเมื่อคืนวันที่ 27กุมภาพันธ์ จนถึงทุกวันนี้คดียังเป็นปริศนา รัฐบาลได้ออกมาเตือนว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้นหลังวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ดังนั้นจึงมีการประกาศใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ระดับของความร้ายแรงของเหตุการณ์เพิ่มขึ้นในสัปดาห์สุดท้ายของมีนาคม จนนำไปสู่การประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินในวันที่ 8 เมษายน ตามมาด้วยการเข้าสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน เหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพและการสังหารเสธแดง และเหตุการณ์นองเลือดจากการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงในวันที่ 19พฤษภาคม และเดือนกว่าหลังจากนั้น เกิดเหตุการณ์ลอบวางระเบิดหน้าพรรคภูมิใจไทยเพื่อปิดปากบุคคลที่เรียกร้อง ให้มีการยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และนำไปสู่การยืด พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เป็นเวลาสามเดือนจนถึงวันที่ 6 กรกฎาคม และในวันที่ 25 กรกฎาคม ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่อภิสิทธิ์ประกาศว่าที่มีการพิจารณาอย่างเร่งด่วน เรื่องการยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินได้เกิดเหตุการณ์ระเบิดที่หน้าห้างบิ๊กซี ราชดำริ อันเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตหนึ่งรายและทำให้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ของประชาชนต้องถูกชะลอ

เหตุการณ์เหล่านี้อาจเป็นเพียงเหตุบังเอิญ แต่ข้อเท็จจริงประจักษ์แล้วว่าการก่อการร้ายนั้นเอื้อประโยชน์ให้แก่รัฐบาล และสิ่งที่น่าสนใจคือ “การก่อการร้าย” มักจะเกิดขึ้นเพื่อทำให้ประชาชนเชื่อในสิ่งที่รัฐบาลพูด อย่างแรกคือ รับบาลกล่าว่า พ.ร.บ. ความมั่นคงภายใน ไม่สามารถควบคุมการชุมนุมของคนเสื้อแดงได้ หลังจากนั้นคือการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงเป็นสิ้งจำเป็นโดยไม่ต้องคำนึง ถึงผลลัพธ์ และพยายามทำให้ประชาชนเชื่อว่าผู้ที่เสียชิวิตนั้นสมควรแล้วที่ถูกกระทำเช่น นั้น เเป็นที่ทราบว่าว่าคนเสื้อแดงพยายามที่จะหาเสียงสนับสนุนจากคนกรุงเทพ แต่ “ผู้ก่อการร้าย” เหล่านี้ช่วยรัฐบาลแสดงให้เห็นว่ากลุ่มคนเสื้อแดง ไม่สมควรได้รับการสนันสนุนจากสาธารณชน อาจกล่าวได้ว่า “ผู้ก่อการร้าย” เหล่านี้เป็นพันธมิตรที่ดีต่อรัฐบาลนั้นเอง หากไม่ใช่เพราะ “ผู้ก่อการร้าย” เหล่านี้ รัฐบาลนี้คงพ้นจากต่ำแหน่งไปแล้ว ที่จริงแล้ว “ผู้ก่อการร้าย” เหล่านี้ช่วยเหลืออภิสิทธิ์หลายครั้งจนเราสงสัยว่าหรือนี้คือวัตถุประสงค์ อันแท้จริงของผู้ก่อการร้ายเหล่านี้

ข้อสามคือ การกระทำของรัฐบาลภายหลังจากการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ทำแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลพยายามปกปิดอะไรหลายอย่าง การปิดบังข้อมูลข่าวสารทำให้ไม่การอภิปรายข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำของรัฐบาล สื่อกระแสหลักนำเสนอเรื่องราวในรูปแบบของรัฐบาลครั้งแล้วครั้งเล่า การที่รัฐบาลเพิกเฉยการสอบสวนเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลพยายามที่จะปิดบังข้อเท็จจริงเพื่อเป็นเครื่องประกันว่าผู้นำทางทหาร และพลเรือนจะไม่ต้องรับโทษ ในขณะเดียวกันมีการใช้กฎหมายสองมาตรฐาน ระบบที่การเคร่งคัดและรวดเร็วกับคนเสื้อแดง และระบบที่ผ่อนผัน ล่าช้าต่อคนเสื้อเหลือง ทำให้เห็นว่ารับบาลไม่เคารพระบบตุลาการและนิติรัฐ สุดท้ายคือการตอบโต้ของโฆษกรัฐบาลที่ร้อนตัวโดยพยายามหลีกเลี่ยงการอภิปราย ข้อมูลที่เต็มไปด้วยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ด้วยลดความหน้าเชื่อถือของผู้เขียนว่าเป็นชาวต่างชาติและไม่มีคุณสมบัติที่ ดีพอ การห้ามวิจารณ์ ปกปิดหลักฐาน และตอบโต้ด้วยการลดความน่าเชื่อถือด้วยการอาศัยเหตุผลของบุคคลิกภาพของบุคคล นั้น เป็นวิธีการของคนที่มีเรื่องต้องปกปิด

ด้วยเหตุผลนี้ไม่ใช่เรื่องยากที่จะเชื่อว่ารัฐบาลที่มีประวัติการใช้ความ รุนแรง ใช้อำนาจในทางที่ผิด และให้ข้อมูลข่าวสารบิดเบือนแก่ประชาชนสร้างสถานการณ์เหล่านี้ขึ้นมา เพื่อที่จะสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเหล่านี้

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นที่รู้กันดีว่ามีการอ้างว่า“มือที่สาม”ก่อเข้ามาสร้างสถานการณ์ในปี 2516 และ2519 กลุ่มคนเหล่านี้ยุยงทำให้เกิดการจลาจลเพื่อเป็นข้ออ้างให้รัฐบาลเข้ามาสลาย การชุมนุม ตัวอย่างล่าสุดของมือที่สามคือคือกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลอย่างกลุ่มคน “เสื้อฟ้า” ได้เผชิญหน้าและทำร้ายคนเสื้อแดงที่ชุมนุมในพัทยาในเดือนเมษายนปี 2552

อย่างไรก็ตาม “ยุทธศาสตร์ความตึงเครียด” สำคัญที่เกิดก่อนหน้านี้คือการพยายามกำจัดรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยใช้ ความรุนแรงและการที่รัฐให้ความช่วยเหลือจากกลุ่มศาลเตี้ยในกลางยุค 70 ในปี 2519 รัฐบาลได้ตั้งกลุ่มกระทิงแดง นวพล ลูกเสือชาวบ้านขึ้นมาเพื่อทำลายฝ่ายคอมมิวนิสต์ นักการเมืองท้องถิ่นและนักกิจกรรมที่ทำงานให้กับสมัชชาชาวนาแห่งประเทศไทย กลุ่มดังกล่าวยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงในการล้อมปราบสลายนักศึกษา และกรรมกร และยั่วยุให้เกิดการจลาจลต่อต้านชุมชนชาวเวียดนามในภาคอีสาน รวมถึงเหตุการณ์ลอบวางระเบิดที่เป็นเหตุให้นักกิจกรรมหลายคนเสียชีวิต ทำใไห้เกิดความไร้เสถียรภาพและความหวาดกลัวจนนำไปสู่การฆ่าหมู่นักศึกษาในปี 2519 โดยกลุ่มศาลเตี้ยเหล่านี้ได้บุกล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และฆ่าหมู่นัก ศึกษาเหล่านั้นอย่างทารุณ โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องเมืองหลวงจาก “กลุ่มคอมมิวนิสต์” (กลุ่มที่ถูกกล่าวหาว่าจะเผาวัดบวรนิเวศ) เหตุการณ์ความรุนแรงนี้ได้ทำลายความเชื่อมั่นของสาธารณชนต่อระบอบ ประชาธิปไตย และการปราบปรามนี้ไม่ได้สร้างความตื่นตระหนักให้คนกรุงเทพแต่อย่างใด การทำรัฐประหารหลังจากเหตุการณ์นี้กลับทำให้คนเมืองรู้สึกอุ่นใจ

สิ่งที่ทุกคนไม่ควรลืมคือกลุ่มคนสำคัญที่สนับสนุนอภิสิทธิ์คือกลุ่มคนที่ส่วนเกี่ยวข้องในแผน “ยุทธศาสตร์ความตึงเครียด” ในปี 2519

ตามที่กฎหมายไทยได้บัญญัติไว้ การกระทำรุนแรงที่เข้าข่ายว่าเป็นการ “ก่อการร้าย” นั้นคือการที่ผู้กระทำมีเจตนาที่จะกระตุ้นให้รัฐใช้กำลังหรือทำให้เกิดความ วุ่นวายและสร้างความหวาดผวาให้สาธารณชน ช่วง 6เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้พลาดโอกาสที่จะทำให้ชาวกรุงเทพหวาดผวา แต่หลังจากนั้นรัฐบาลได้ใช้ประโยชน์จากความกลัวและความไม่สงบนี้นี้เอื้อ อำนาจอย่างล้นเหลือให้พรรคพวก ซึ่งหากเป็นสถานการณ์ปกติคงไม่สามารถทำได้ ซึ่งเหมือนการทำรัฐประหารเงียบ ในประวัติศาสตร์ไทย “มือที่สาม” และ “ผู้ก่อการร้าย” ที่ใช้ทำลายฝ่ายตรงข้าม(จะใช้หรือไม่ก็ตามแต่คนเหล่านี้ได้รับการสนับสนุน จากผู้นำพลเรือน) คือคนที่ทำงานให้แก่รัฐ กลุ่มสภาเฉพาะกิจอย่างกลุ่มพันธมิตร ซึ่งเป็นกลุ่มที่วิจารณ์ระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยมอย่างรุนแรง ได้พยามก่อความรุนแรงหลายครั้งโดยการปะทะกับคนเสื้อแดง และยังทำให้สร้างอับอายให้รัฐบาลด้วยการเย้ยรัฐบาลอภิสิทธิ์ว่าไม่สามารถ บังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มอภิสิทธิชนอย่างกลุ่มตนได้ กลุ่มหัวเก่าในกองทัพพยายามทำให้รัฐบาลพลเรือนดูอ่อนแอเพื่อเอื้อประโยชน์ ทางการเงินและอื่นๆให้พวกตน และยังสร้างความชอบธรรมให้กับการแทรกแซงการเมือง และพยายามยืด พ.ร.ก. ฉุกเฉินเพื่อให้อำนาจแก่กลุ่มตนเอง

การที่นำ “ผู้ก่อการร้าย” ที่แท้จริงขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรม ทำได้โดยการที่รัฐบาลต้องใส่ใจกับข้อเรียกร้องขององค์กรสิทธิมนุษยชนทั่วโลก และเปิดโอกาสให้มีการสอบสวนที่เป็นอิสระและสมบูรณ์ภายใต้กฎหมายระหว่าง ประเทศ นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์จะต้องยกเลิกพ.ร.ก. ฉุกเฉินที่ให้อำนาจอย่างล้นเหลือต่อทหารและรัฐบาล และเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามวิกฤตการที่ประเทศไทยกำลังเผชิญนี้ ประเทศในระบอบประชาธิปไตยทั่วโลกได้ทนดูความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้ง คำถามในสิ่งที่รัฐบาลไทยได้กระทำมาพอสมควรแล้ว การรัฐบาลพยายามยืด พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และไม่แสดงท่าทีจะยกเลิก แสดงให้เห็นว่าการยืด พ.ร.ก. ฉุกเฉินนั้นเอื้ออำนาจให้รับบาลมากกว่าเพื่อควบคุมความร้ายแรงของสถานการณ์ ไม่ว่าใครก็ตามที่เป็น “ผู้ก่อการร้าย” ตัวจริง อำนาจฉุกเฉินนี้คือชัยชนะที่พวกเขาไม่สมควรได้รับ เราหวังว่าสิ่งเหล่านี้คงจะไม่ใช่แผนการของคนเหล่านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน