แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

4แนวคิดรุ่นใหม่ สิทธิเสรีภาพ-สมานฉันท์

Porsche

ออรีสา อนันทะวัน

ท่ามกลางความขัดแย้งของสังคมไทย ที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

สีเสื้อกลายเป็นสัญลักษณ์ทางการต่อสู้ไป โดยปริยาย ด้วยความห่วงใยต่อสถานการณ์นี้
กิจกรรมรำลึกวันอนิจกรรม "ป๋วย อึ๊งภากรณ์" ปูชนียบุคคล ในปีนี้ จึงจัดป๋วยเสวนาขึ้น
ที่โรงเรียนพุทธมามกะ วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร
เพื่อให้คนรุ่นใหม่ ทายาทเสื้อหลือง เสื้อแดง มาร่วมคิดร่วมเสนอแนะทางออก

ภายใต้หัวข้อ "สิทธิเสรีภาพและการสมานฉันท์" ประ กอบด้วย
น.พ.สลักธรรม โตจิราการ ลูกชาย น.พ. เหวง โตจิราการ แกนนำนปช.,
นายแสงธรรม ชุนชฎาธาร ลูกชายนางมาลีรัตน์ แก้วก่า แกนนำพันธมิตรฯ รุ่น 2,
นายวิจักขณ์ พานิช นักคิดนักเขียนรุ่นใหม่ และ
นายตุล ไวฑูรเกียรติ กวีหนุ่ม นักแต่งเพลง และนักร้องนำวงอินดี้ "อพาร์ต เมนต์คุณป้า"
ทั้ง 4 คนจะมาร่วมแชร์ความคิด บนพื้นฐานที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยก

เริ่มต้นที่วิจักขณ์ บอกว่า สิทธิเสรีภาพ คือความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องตามคนอื่น
หากคิดในทางศาสนา ถามว่าสิ่งแรกที่พระพุทธเจ้าแสวงหา คืออะไร คำตอบคือสิทธิเสรีภาพ
สลักธรรม มองว่า ไม่ว่าคนจะอยู่ในสังคมจุดไหน อาชีพไหน ทุกคนควรมีสิทธิเท่ากัน สิทธิคือ
ความถูกต้อง ชอบธรรม ด้านตุล คิดว่า สิทธิเสรีภาพ หลายคนมองไปไกลมาก
คนมักจะพูดว่าเราจะต้องต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธิมา แต่ลืมมองว่า
คนมีสิทธิเสรีภาพตั้งแต่เกิด
ถ้าเมื่อไหร่ที่มีสิทธิเลือกทำในสิ่งที่ถูกโฉลกกับการดำเนินชีวิตของตัวเอง นั่นคือสิทธิ




ขณะที่แสงธรรม บอกว่า สิทธิ คือความถูกต้อง และมาพร้อมกับหน้าที่
ซึ่งต้องดูว่าสิงที่ทำไปกระทบกับสิทธิคนอื่นหรือไม่
ส่วนเสรีภาพ คืออิสระ ที่เชื่อมโยงกับสิทธิ

คำตอบที่ได้ในเรื่องของสิทธิและเสรีภาพ ของแต่ละคนอาจเหมือน หรือต่างกันออกไป
แล้วท่ามกลางความขัดแย้งของสังคมที่เกิดขึ้น จนต้องนำมาสู่การสร้างความสมานฉันท์ พวกเขาคิดอย่างไร

สลักธรรม มองว่า สมาน ฉันท์ คือคนที่คิดต่างกัน สามารถนำความคิดมาเชื่อมกันได้
ต้องเคารพในศักดิ์ศรี
รับฟังปัญหา เข้าใจกันและกัน สมานฉันท์จึงจะเกิด
แต่ก่อนสมานฉันท์ เราต้องรู้ต้นรากของปัญหาว่า
เราแตก แยกกันเรื่องอะไร ความขัดแย้งทางการเมือง มันไม่ใช่เพิ่งเริ่มขึ้น
ในสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ หรือรัฐประหาร 19 ก.ย.2549
แต่มันเป็นความขัดแย้งทางสังคมเชิงโครงสร้าง ที่ดำรงอยู่มาเป็นเวลานานในสังคมไทย
ทำให้เกิดชนชั้นสูง และชนชั้นล่าง

"ในยุคที่มีรัฐธรรมนูญ 40 มาใช้เป็นครั้งแรก ประจวบเหมาะพรรคไทยรักไทย เป็นรัฐบาล
ประชาชนเลือกเพราะรู้สึกมีสิทธิมีเสียง ถามว่า นโยบายจะได้ผล
หรือไม่ได้ผล จะคอร์รัปชั่น
หรือไม่คอร์รัปชั่น มันอีกเรื่อง แต่เขากำหนดชะตากรรมประเทศ
แต่พอรัฐบาลทักษิณ เจอรัฐประหารเข้าไป
ประชาชนรู้สึกว่าเป็นการคุกคามสิทธิของเขาอย่างรุนแรง
ถ้าเราจะแก้ปัญหา เราต้องเคลียร์ความรู้สึกตรงนี้
และปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทยตรงนี้ให้ได้" สลักธรรมกล่าว


ด้านแสงธรรมอธิบายว่า
สังคมต้องเกิดความขัดแย้งก่อน ถึงจะเกิดสมานฉันท์ได้ ความขัดแย้งเกิดขึ้นทุกที่
กระทั่งตัวเราก็มีความขัดแย้งในตัวเอง
ความขัดแย้งทำให้เกิดสิ่งใหม่ เราสามารถจัดการความขัดแย้ง
เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรง โดยใช้สันติวิธี จนนำมาสู่คำว่าสมานฉันท์

"ตัวผมเองเกิดอคติเล็กน้อยกับคำว่าสมานฉันท์ เพราะคำว่า
สมานฉันท์นำมาใช้ในทางที่ผิด
เมื่อเกิดความขัดแย้ง ก็มาพูดเรื่องสมานฉันท์
ใครทำความผิดกลายเป็นว่าไม่ผิด ล้างไพ่ใหม่ มาร่วมกันกิน มึงกินคำหนึ่ง กูกินคำหนึ่ง
เสร็จแล้วประเทศชาติก็แทะกันไม่เหลือ ถามว่าประชาชนได้สมานฉันท์หรือไม่ ก็ไม่"

"ดังนั้น คำว่าสมานฉันท์ที่ผมคิด คือ
ค้นหาความจริง ความจริงเป็นเอกพจน์
มีแค่หนึ่งเดียวในโลกเท่านั้นในหนึ่งสถานการณ์ เมื่อหาความจริงแล้ว
ก็ให้ความยุติธรรม ใครผิดว่าไปตามผิด สุดท้ายกระบวนการที่จะมาสมานฉันท์ คือ
เรื่องความรัก ความจริง
และความยุติธรรม ยึดผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก แม้ต่างประเทศบอกว่า
ต้องมีสงครามถึงจะยุติสงครามได้
แต่เราหลีกเลี่ยงสิ่งนี้ ด้วยการหาความจริงแก้ไขความขัดแย้ง แล้วก้าวไปสู่สิ่งใหม่"
มุมมองของแสงธรรม

ส่วนตุลมองว่า
เมื่อเห็นความขัดแย้ง
เราจะต้องไม่กลายเป็นความขัดแย้ง เราไม่จำเป็นต้องเอาตัวเองไปอยู่ในความขัดแย้ง
ถ้าหากจมกับความขัดแย้ง จะทำให้เกิดความเกลียดชัง แต่ไม่ใช่ว่าไม่รับรู้ เรารับรู้
ทุกวันนี้เกิดเรื่องประหลาดมาก คนบางคนเลือกที่จะไม่คุยกัน
เพราะความคิดทางการเมืองไม่ตรงกัน
ซึ่งความจริงคุยกันได้

"คนพันคน มีความคิดเห็นทางการเมืองที่คล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกันทั้งหมดหรอก
การลุกขึ้นมาใส่เสื้อสีเดียวกันเป็นเรื่องตลก
ช่วงหลัง สีเป็นการสร้างสัญลักษณ์ สร้างอัตลักษณ์ขึ้นมา บางครั้งคนเข้าใจผิด
หลายคนกระโจนลงไปสู่วังวนของสี โดยคิดว่ามันเป็นแค่การได้ปลดปล่อย
หรือหาพวกพ้อง ที่แม้แต่ตัวเองบางครั้งยังไม่เข้าใจ
บางทีเรายอมให้อุดมการณ์ทางการเมือง มาปรับเอกลักษณ์ที่เราเคยทำอยู่" ตุลคิดอย่างนั้น

ขณะที่ วิจักขณ์ พยักหน้าเห็นด้วยกับตุล และบอกว่า
บางครั้งเราพยายามจะเอาตัวตนไปผูกกับความขัดแย้ง
มากเกินไป เราต้องมองเห็นคุณค่าของความขัดแย้งให้ทะลุ

"ผมยอมรับว่าตอนนี้ผมค่อนข้างเห็นใจเสื้อแดง
ที่ถูกลิดรอนสิทธิบางอย่าง อย่างเรื่องทักษิณ ผมก็มองว่า
ต้องมีการตรวจสอบ
เราสามารถร่วมต่อสู้เรียกร้องได้ในประเด็นนั้นๆ ต้องชัดเจนในบริบทนั้น
ในเสื้อแดงก็มีเรื่องที่ดี เสื้อเหลืองก็มีมิติเชิงคุณค่า
แต่เราไม่ได้ต้องการทั้งหมดของทั้ง 2 สี
การผูกติดตัวตนในการรักษาอัตลักษณ์ของความเป็นเหลืองเป็นแดง ผมไม่เห็นด้วย" วิจักขณ์ อธิบาย

เป็น 4 มุมมอง และแนวคิดของ 4 หนุ่ม ที่ผู้ใหญ่ต้องฟัง


http://www.khaosod.co.th/view_news.php?n...B3T0E9PQ==



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน